Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ผู้นำสหรัฐฯ เผชิญแรงกดดันหลังเหตุโจมตีฐานทหารในจอร์แดน

ผู้นำสหรัฐฯ เผชิญแรงกดดันหลังเหตุโจมตีฐานทหารในจอร์แดน

หลายฝ่ายกำลังจับตามองท่าทีของสหรัฐฯ ว่าจะมีการตอบโต้ทางการทหารต่ออิหร่านหรือไม่ หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ฐานทหารสหรัฐฯ ในจอร์แดนแห่งหนึ่งถูกโจมตีโดยกลุ่มติดอาวุธที่มีอิหร่านให้การสนับสนุน จนเป็นเหตุให้มีทหารเสียชีวิต 3 นายและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

หลังเกิดเหตุ อิหร่านออกมาปฏิเสธทันทีว่าไม่ส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้มีการโจมตี ท่าทีของอิหร่านทำให้ผู้นำสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า จะตอบโต้อย่างไรกับการถูกโจมตี

สหรัฐฯ เตรียมโต้กลับอิหร่าน หลังฐานทัพในจอร์แดนถูกโจมตี!

โดรนกลุ่มหนุนอิหร่านโจมตีฐานสหรัฐฯ ในจอร์แดน ทหารตาย 3 นาย

เพราะการปล่อยให้ผ่านไปโดยยังไม่มีการตอบโต้ กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักโดยเฉพาะจากนักการเมืองฝั่งรีพับลิกันหลายฝ่ายมองว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับสหรัฐฯ คือจะตอบโต้อย่างไรเพื่อไม่ให้นำไปสู่การเปิดหน้าทำสงครามโดยตรงกับอิหร่าน

เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือเพนตากอนออกมาเผยแพร่ภาพของทหารสหรัฐฯ 3 นายที่เสียชีวิตจากการโจมตีนั่นก็คือ เคนเนดี ลาดอน แซนเดอร์ส อายุ 24 ปี บรีออนนา อเล็กซอนเดรีย มอฟเฟต อายุ 23 ปี และวิลเลียม เจอโรม ริเวอร์ส อายุ 46 ปี โดยทั้งหมดมีตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือ Specialist นอกจากนี้ยังมีทหารสหรัฐฯ อีกอย่างน้อย 40 นาย ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีครั้งนี้

ฐานทหารสหรัฐฯ ที่ถูกโจมตีคือ ฐาน Tower 22 ตั้งอยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจอร์แดนซึ่งติดกับประเทศซีเรียและอิรัก Tower 22 เป็น outpost เล็กๆ มีทหารประจำการประมาณ 350 นาย แต่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อไปที่ฐานทัพอัล-ตันฟ์ ของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย

หลังเกิดเหตุ กลุ่มติดอาวุธอิสลามิก รีซิสแทนซ์ หรือ IR (Islamic Resistance) ในอิรัก ประกาศว่าเป็นผู้ส่งโดรนเข้าไปโจมตี Tower 22 นั่นทำให้เกิดคำถามทันทีว่า เหตุใดจึงไม่มีการสกัดโดรนที่พุ่งตรงเข้ามาที่ฐานแห่งนี้สำนักข่าวเอพีรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่เปิดเผยตัวตนที่ระบุว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า การที่โดรนของศัตรูไม่ถูกสกัดในขณะที่เข้ามาโจมตีฐาน Tower 22

เนื่องจากมีความเข้าใจผิดคิดว่า โดรนลำดังกล่าวเป็นของกองทัพสหรัฐฯ ที่เพิ่งมีการส่งออกในวันเดียวกันและกำลังจะกลับเข้าฐาน จึงไม่มีความพยายามที่จะสกัดโดรนลำดังกล่าวซึ่งบินอยู่ในระดับที่ต่ำมากให้ตกลงมา

ในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อคืนที่ผ่านมา โฆษกกระทรวงกลาโหมหรือเพนตากอนได้ระบุว่า ยุทธวิธีที่ใช้ในการโจมตีฐาน Tower 22 มีความคล้ายกับวิธีการที่กลุ่มคาตาอิบ เฮซบอลเลาะห์ (Katalib Hezbollah) ใช้ และไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิหร่านคือผู้อยู่เบื้องหลัง

การแถลงของเพนตากอนสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการแถลงของโฆษกสภาความมั่นแห่งชาติประจำทำเนียบขาวที่ระบุว่า อิหร่านคือผู้สนับสนุนกลุ่มติดอาวุธด้วยการให้อาวุธและการฝึกฝนการรบ แต่การสนับสนุนจะอยู่ในระดับที่สั่งการโดยตรงให้มีการโจมตีฐานทหาร Tower 22 หรือไม่ ยังคงเป็นประเด็นที่กำลังมีการสืบสวนกันอยู่

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านโจมตีเป้าหมายที่เป็นศัตรู นับตั้งแต่ที่เกิดสงครามในฉนวนกาซาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์โจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางหลายครั้งแล้ว

เช่น ฐานทัพอิน-อัล อัสซาด และฐานทัพในเมืองเออร์บิล ซึ่งอยู่ในประเทศอิรัก ส่วนในซีเรีย มีการโจมตีฐานทัพเทล บิเดอร์ และฐานทัพอัล-ตันฟ์ อย่างไรก็ตาม อิหร่านไม่เคยออกมาพูดถึงการโจมตีครั้งที่ผ่านๆ มา จนกระทั่งถึงเหตุการณ์โจมตีฐาน Tower 22

นาสเซอร์ คานานี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่านระบุในการแถลงข่าวเมื่อวานนี้ว่า อิหร่านไม่ได้เป็นคนสั่งให้มีการโจมตีฐาน Tower 22 เพราะไม่สามารถชี้นิ้วสั่งกลุ่มต่อต้านต่างๆ ที่ต้องการแสดงจุดยืนในการปกป้องชาวปาเลสไตน์ได้

นี่ถือเป็นครั้งแรกที่อิหร่านเปิดแถลงข่าวปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือสั่งการให้กลุ่มติดอาวุธที่ตนเองสนับสนุนโจมตีเป้าหมายของศัตรู หลายฝ่ายระบุว่า ท่าทีเช่นนี้ของอิหร่านแสดงให้เห็นว่าอิหร่านยังไม่อยากเผชิญหน้าทางการทหารกับสหรัฐฯ

อีกประเด็นที่น่าสนใจในการแถลงข่าวของอิหร่านคือ การระบุว่ามีความพยายามจากบางฝ่ายที่ต้องการลากสหรัฐฯ ให้เข้ามาเผชิญหน้ากับอิหร่านโดยตรง เพื่อปกปิดปัญหาที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่

บางฝ่ายที่อิหร่านระบุถึง คือ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอล ที่ขณะนี้กำลังเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ จากการทำสงครามในฉนวนกาซา ที่ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักต่อชีวิตพลเรือน

เหตุการณ์โจมตีฐานเกิดขึ้นกว่า 48 ชั่วโมงแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ ทำเนียบขาวยังไม่มีการตอบโต้ทางการทหารต่ออิหร่านและกลุ่มติดอาวุธที่เป็นผู้ลงมือโจมตีและนั่นทำให้หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีโจ ไบเดนว่า กำลังปล่อยให้ทหารอเมริกันตกเป็นเป้านิ่งของการโจมตี

หนึ่งในคนที่ออกมาพูดเช่นนี้คือ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งกำลังตั้งเป้าเข้าชิงตำแหน่งผู้นำประเทศอีกครั้งในปลายปีนี้โดยทรัมป์ได้ระบุว่า การโจมตีฐานทหาร Tower 22 ในจอร์แดนจนนำไปสู่การเสียชีวิตของทหารสหรัฐฯ เป็นผลมากจากความอ่อนแอของประธานาธิบดีไบเดนนอกจากนี้ยังมีนักการเมืองอีกหลายคนที่ออกมากดดันให้ประธานาธิบดีไบเดนตอบโต้อิหร่านแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน

เช่น ทอม คอตตอน สว.พรรครีพับลิกันจากรัฐอาร์คันซอ ที่ออกแถลงการณ์ระบุว่า การตอบโต้เดียวต่อการโจมตีฐานทหารสหรัฐฯ คือต้องเป็นการแก้แค้นทางการทหารที่สร้างความเสียหายอย่างย่อยยับต่ออิหร่านและกองกำลังก่อการร้ายที่อิหร่านสนับสนุนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนที่ผ่านมา โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติประจำทำเนียบขาวออกมาแถลงปัดตกความเป็นไปได้ในการโจมตีอิหร่านโดยตรงโดยระบุว่า สหรัฐฯ ไม่ต้องการเปิดสงครามกับอิหร่าน และไม่ต้องการที่จะยกระดับความตึงเครียดในภูมิภาคที่สูงอยู่แล้วให้สูงขึ้นอีก แต่จะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์นี้ผ่านไปโดยไม่มีการตอบโต้อย่างแน่นอน

ต้องจับตาดูว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะตอบโต้อย่างไรเพื่อไม่ให้นำไปสู่การเผชิญหน้ากับอิหร่านโดยตรง ซึ่งจะเป็นการกระพือความขัดแย้งในตะวันออกกลางให้หนักและรุนแรงมากขึ้น

ขยายผล! เจออีกเคส "แก๊งศรีสุวรรณ" ตบทรัพย์เรียกเงิน 100 ล้านคำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้?

ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ อุซเบกิสถาน รอบ 16 ทีม เอเชียน คัพ

“แบม ไพลิน” เปิดใจสละตำแหน่งมิสแกรนด์ระนอง ยอมรับกำลังตั้งท้อง

 ผู้นำสหรัฐฯ เผชิญแรงกดดันหลังเหตุโจมตีฐานทหารในจอร์แดน